ข้อมูลทั่วไป บ้านย่อ
ประวัติการตั้งหมู่บ้านย่อ"
อดีตกาลที่อยู่มาหลายชั่วอายุคน จากการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่โบราณได้เล่าสืบขานกันมาให้ลูกหลานได้ฟังเกี่ยวกับตำนานของชื่อ "บ้านย่อ" ว่าแต่เดิมนี้เรียกว่า "หมู่บ้านเผ่าญ้อ" คำว่า "ญ้อ" เป็นชื่อชนเผ่าหนึ่งที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตจังหวัดลำปาง ทางตอนเหนือของประเทศไทย เขตติดต่อกับชายแดนพม่ายังมีชนอีกเผ่าหนึ่งชื่อ "ชนเผ่ากุลา"ชนเผ่ากุลาอาศัยอยู่ในเขตเมืองหงสาวดี ประเทศพม่า ต่อมาก่อนปีพุทธศักราช 2310 ชนเผ่ากุลาได้อพยพเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อหาแหล่งที่อยู่ใหม่ที่อุดมสมบูรณ์ และอพยพผ่านบริเวณที่ชนเผ่าญ้ออาศัยอยู่ จึงได้ชักชวนกลุ่มชนเผ่าญ้อร่วมเดินทางอพยพมาด้วยกัน ชนเผ่าทั้งสองได้เดินทางรอนแรมจากตอนเหนือของประเทศไทย ผ่านพื้นที่หลายต่อหลายแหล่ง ก็หาพื้นที่ที่ถูกใจไม่ได้ จนมาถึงพื้นที่อีสานตอนล่าง ผ่านท้องทุ่งที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่และอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน ชนเผ่าทั้งสองต่างหอบลูกจูงหลานเดินทางไปยังท้องทุ่งแห่งนี้ และช่วงเวลานั้นก็เกิดฝนตกหนัก ท้องฟ้ามืดครึ้มเกิดฟ้าแลบฟ้าผ่าลงมาหลายครั้ง ถูกผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ผู้ที่ถูกฟ้าผ่าส่วนใหญ่จะเป็นชนเผ่ากุลา เนื่องจากชนเผ่ากุลาชอบสวมเครื่องประดับที่ทำมาจากทองคำ ซึ่งเชื่อกันว่าสายฟ้าจะผ่าตรงที่มีแร่ทองคำ จึงทำให้ชนเผ่ากุลาเสียใจมาก พากันร้องห่มร้องไห้เพราะสูญเสียพวกพ้องของตน จนเป็นที่มาของชื่อท้องทุ่งนั้นว่า "ทุ่งกุลาร้องไห้"
กลุ่มชนเผ่าทั้งสองยังคงเดินทางมาเรื่อยๆจนถึงดงแห่งหนึ่งซึ่งเรียกว่า "ดงลำขวง" เป็นดงขนาดใหญ่ มีสัตว์ป่ามากมายและมีดินน้ำที่อุดมสมบูรณ์มากชนเผ่าทั้งสองจึงได้สร้างหลักปักฐานอยู่ที่ดงลำขวงแห่งนี้ และเนื่องจากชนเผ่าญ้อมีจำนวนมากกว่าชนเผ่ากุลา ทำให้คนในหมู่บ้านใกล้เคียงเรียกหมู่บ้านแห่งนี้ใหม่ว่า "บ้านเผ่าญ้อ" อยู่ในเขตปกครองของอำเภออุทัยยโสธร จังหวัดอุบลราชธานีในอดีต ปัจจุบันจากคำว่า "ญ้อ" ได้มีผู้คนเรียกเพี้ยนมาเรื่อยๆกลายเป็นคำว่า "ย่อ" จึงเกิดชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านย่อ" และอยู่ในเขตปกครองของอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธรจนถึงทุกวันนี้ ชาวบ้านย่อที่เป็นลูกหลานชนเผ่าญ้อ ยังคงมีให้เห็นจนถึงทุกวันนี้ และมีผู้สันนิษฐานว่าชนเผ่าญ้อจะใช้นามสกุล เช่น นามแก้ว สมจิตร เป็นต้น ชนเผ่ากุลาก็เช่นเดียวกัน จะใช้นามสกุล เช่น คำวงษ์ คำวัง กันยะ อินตา เป็นต้น
นี่คือตำนานของหมู่บ้านย่อที่ได้สอบถามคนเฒ่าคนแก่และตามหลักฐานในประวัติของเมืองจึงอยากให้ลูกหลานชาวบ้านย่อได้เรียนรู้เล่าสืบขานต่อๆกันไป
![]() | ||||||||||||||||||||||||||||
พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม สภาพดินเป็นดินปนทราย ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร | ||||||||||||||||||||||||||||
![]() | ||||||||||||||||||||||||||||
ทิศเหนือ ติดกับ ต.ทุ่งมน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร ทิศใต้ ติดกับ ต.ส่งเปือย ต.โพนทัน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร ทิศตะวันออก ติดกับ ต.ดงเจริญ อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร ทิศตะวันตก ติดกับ ต.ขุมเงิน ต.ตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร | ||||||||||||||||||||||||||||
![]() | ||||||||||||||||||||||||||||
จำนวนประชากรในเขต อบต. 7,400 คน และจำนวนหลังคาเรือน 1,602 หลังคาเรือน | ||||||||||||||||||||||||||||
![]() | ||||||||||||||||||||||||||||
อาชีพหลัก ทำนา อาชีพเสริม เลี้ยงสัตว์ | ||||||||||||||||||||||||||||
![]() | ||||||||||||||||||||||||||||
1) องค์การบริหารส่วนตำบล 1 แห่ง 2) วัด 7 แห่ง 3) อ่างเก็บน้ำบ้านโคกป่าจิก 1 แห่ง | ||||||||||||||||||||||||||||
![]() ![]()
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น